วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Save time 14 Friday Date 28 April 2016



Diary notes.



knowledge.

    
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(
Individualized Education Program)

แผน IEP
   แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
   เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
   ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
   โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

       การเขียนแผน IEP
      1. คัดแยกเด็กพิเศษ
      2. ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
      3. ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
      4.  เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
      5.  แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP


ส่วนประกอบของแผน IEP



ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน



ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

การรวบรวมข้อมูล
          รายงานทางการแพทย์
          รายงานการประเมินด้านต่างๆ
          บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

การจัดทำแผน
          ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
          กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
          กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
          จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การใช้แผน
          เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
          นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
          แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
          จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
          ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
          ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
          ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
          อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

การประเมินผล
          โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
          ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล


** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**


ตัวอย่างแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล






Skill

      กิจกรรมต้นไม้ทายนิสัย







วิธีการ  ให้ระบายสีวงกลมของตนเอง โดยเลือกสี ขนาดตามต้องการ 



การทายนิสัยจากสีที่เลือก 

    สีด้านในสุด หมายถึง บุคคลิก นิสัยของเรา
    สีด้านนอกสุด หมายถึง บุคคลิก นิสัยที่แสดงออกมาหรือบุคคลิก นิสัยที่ผู้อื่นรับรู้
    ภาพรวมของสี หมายถึง อารมณ์






การมอบรางวัลเด็กดี 
    แก่นักศึกษาที่มีวินัยในการเข้าเรียน ตรงต่อเวลา 





Teaching methods. 
     
     อาจาร์ยมีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิด ใช้สื่อ Powerpoint ประกอบการเรียนการสอน จัดกิจกรรมทอดแทรกทำให้นักศึกษาเกิดความตื่นตัว และเรียนรู้สิ่งต่างๆ นอกเหนือจากรายวิชา และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ด้วยการจัดทำใบบันทึกการเข้าเรียน สอดแทรกความรับผิดชอบ และความมีวินัย


Assessment.

classroom conditions. อากาศถ่ายเท มีอุณหภูมิพอเหมาะ เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา ขาด technology ในการใช้งาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ และ Internet ในการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม

self. แต่งกายถูกระเบียบ ใช้ ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง และมีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจาร์ยสอน

friend. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

professor. อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น





Save time 13 Friday Date 22 April 2016



Diary notes.



knowledge.

    
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน  
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
- เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
- เกิดผลดีในระยะยาว
- เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
- แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program; IEP)
- โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
- การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
- การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
- การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)



การบำบัดทางเลือก
 การสื่อความหมายทดแทน (AAC) 
 ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
 ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
 การฝังเข็ม (Acupuncture)
 การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)



การสื่อความหมายทดแทน 
(Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

  • การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
  • เครื่องโอภา (Communication Devices)
  • โปรแกรมปราศรัย
บทบาทของครู
- ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
- ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
- จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 

      ทักษะทางสังคม
  1. เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
  2. การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น


  การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
  กระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง และช่วยช่วยให้เด็กรู้กฎเกณฑ์

   ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
       - อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
       - ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
       - ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
       - เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
       - ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

    
      
      ทักษะภาษา


การวัดความสามารถทางภาษา
  เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  ทักษะการรับรู้ภาษา
  การแสดงออกทางภาษา
  การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   ตามสบาย   คิดก่อนพูด
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

     
     
      ทักษะการช่วยเหลือตนเอง



ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
 การได้ทำด้วยตนเอง
 เชื่อมั่นในตนเอง
 เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
  ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  “ หนูทำช้า   หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

 แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
 ย่อยงาน
เรียงลำดับตามขั้นตอน

ขั้นตอนการย่อยงานของการเข้าห้องน้ำ



     ทักษะพื้นฐานทางการเรียน


การเลียนแบบ    การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ   การรับรู้ 
การเคลื่อนไหว     การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก    ความจำ

เป้าหมาย
 การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
 มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
 เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
 พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
 อยากสำรวจ อยากทดลอง


การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  จัดกลุ่มเด็ก
  เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  พูดในทางที่ดี
  จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  ทำบทเรียนให้สนุก