Save time 9 Friday Date 11 March 2016
Diary notes.
knowledge.
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
(Children with Behavioral and Emotional Disorders)
- มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากกติ
- แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
- ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างองตนเองไม่ได้
- ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
- ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพท์
- ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันเล่น และเกรี้ยวกราด
- กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
- เอะอะและหยาบคาย
- หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
- ใช้สารเสพติด
- หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
- จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 นาที
- ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
- งัวเงีย ไ่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
- มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
- พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
- มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
- หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
- เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
- ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function disorder)
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
- การอาเจียนโดยการสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
- การปฏิเสธที่จะรับประทาน
- รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
- โรคอ้วน (Obesity)
- ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระ และปัสสาวะ (Elimination disorder)
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
- ขาดเหตุผลในการคิด
- อาการหลงผิด (Delusion)
- อาการประสาทหลอน (Hallucination)
- พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
เด็กที่จัดว่ามีความบกพร่องทางพฤติกรรมที่รุนแรงมาก
เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
- Inattentiveness
- Hyperactivity
- Impulsiveness
Inattentiveness (สมาธิสั้น)
- ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
- ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
- มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
- เด็กเล็กๆ จะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
- เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ไฮเปอร์)
- ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
- เคลื่อนไหวตลอดเวลา
- เหลียวซ้ายแลขวา
- ยุกยิก แกะโน้นเกานี้
- อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
- นั่งไม่ติดที่
- ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
- ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
- ขาดความยับยั้งชั่งใจ
- ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
- ไม่อยู่ในกติกา
- ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
- พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
- ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
- ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น Dopamine Norepinephrine
- ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (Frontal cortex)
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากการอบรมเลี้ยงดูที่ผิดวิธีของพ่อแม่ และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ หรือไม่ใส่ใจ แต่ขึ้นอยู่กับการทำงานของสมองที่ควบคุมสมาธิของเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น