Save time 12 Friday Date 01 April 2016
Diary notes.
knowledge.
การจัดประสบการณ์
การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
- การศึกษาพิเศษ (Special Education)
- การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
(Inclusive
Education)
Wilson , 2007
- การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
- การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
- กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
- เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
- เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ
โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
- เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
- เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า
การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
- การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ
หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
- เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้
และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
- ทุกคนยอมรับว่ามี
ผู้พิการ
อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ
โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- “สอนได้”
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
บทบาทครูปฐมวัย
ในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
• การวินิจฉัย
หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
• จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
• เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
• ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
• เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
• พ่อแม่ของเด็กพิเศษ
มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
• พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
• ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก
แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
• ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง
เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
• ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
สังเกตอย่างมีระบบ
- ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
- ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ
ช่วงเวลายาวนานกว่า
- ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา
นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ
- การบันทึกต่อเนื่อง
- การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การตัดสินใจ
• ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
• พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น
ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
Skill
Skill
วิธีการ ให้วาดรูปตามที่มองเห็น พร้อมบอกว่าเห็นอะไรในภาพ
จากกิจกรรมสะท้อนให้เห็นว่า การมองเด็กพิเศษ ให้มองในสิ่งที่เขาเป็น มองในสิ่งที่เห็น ไม่ควรนำอารมณ์หรือความรู้สึกมาใช้ตัดสินเด็ก
สิ่งที่เห็นในภาพ ประกอบด้วย กลีบดอก เกสร ก้าน อับและละอองเรณู กลีบเลี้ยง และมีกลีบดอกทั้งหมด 14 กลีบ
จากกิจกรรมสะท้อนให้เห็นว่า การมองเด็กพิเศษ ให้มองในสิ่งที่เขาเป็น มองในสิ่งที่เห็น ไม่ควรนำอารมณ์หรือความรู้สึกมาใช้ตัดสินเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น