วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

Save time 3 Friday Date 29 January 2016



Diary notes.



knowledge.



ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ 
    1. กลุ่มที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
    2. กลุ่มที่มีลักษณะทางความบกพร่อง

1. กลุ่มที่มีลักษณะทางความสามารถสูง 

    เรียกทั่วๆ ไปว่า เด็กปัญญาเลิศ Gifted child  หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา มีความฉนัดเฉพาะทางสูงกว่าวัยเดียวกัน

ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
  • พัฒนการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
  • เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
  • อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
  • มีเหตุผลในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก
  • จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
  • มีความรู้ ใช้คำศัพท์เิกินวัย
  • มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ 
  • เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
  • มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงใจในการทำงาน
  • ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคืดความอ่าน
เด็กฉลาดกับเด็กปัญญาเลิศแตกต่างกันอย่างไร



บุคคลที่มีสติปัญญาเลิศ 

 



2. กลุ่มที่มีลักษณะทางความบกพร่อง

แบ่งออกเป็น 9 ประเภท
  • เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  • เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
  • เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
  • เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  • เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษษา
  • เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
  • เด็กออทิสติก
  • เด็กพิการซ้อน

เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
(Children with Intellectual Disabilities)

 หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน
      มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน





ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

ไม่พูดหรือพูดได้ไม่สมวัย
ช่วงความสนใจสั่น วอกแวก
ความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
ทำงานช้า
รุนแรง ไม่มีเหตุผล
อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน






เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
(Children with Hearing Impaired)

 หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน
    มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และเด็กหัวหนวก

เด็กหูตึง
    หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง
จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม

เด็กหูหนวก

  • เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
  • เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
  • ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
  • ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป




เด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น
(Children with Visual Impairments)

 เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง
 มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
 สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
 มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา

      จำแนกได้ 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และเด็กตาบอดไม่สนิท

เด็กตาบอด
    
      - ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
      - ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในารเรียนรู้
      - มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
      - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา

เด็กตาบอดไม่สนิท

     - สามารถมองเห็นได้ แต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
     - เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18 , 20/60 , 6/60 , 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
     -  มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา

    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น