วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Save time 4 Friday Date 05 February 2016



Diary notes.



knowledge.



เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
(Children with Speech and Language Disorders)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด
    
     หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

     1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) 
         ตัด         เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป ความ เป็น คาม
         เพิ่ม       ออกเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย หกล้ม เป็น หก-กะ-ล้ม
         เปลี่ยน   ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง กิน เป็น จิน , กวาด เป็น ฟาด
         เพี้ยน     หรือเสียงแปล่ง แล้ว เป็น แล่ว

     2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech flow Disorders)
         - พูดไม่ถูกขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
         - เว้นวรรคตอนไม่ถูก
         - พูดเร็วหรือช้าเกินไป
         - จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
         - เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง ความสละสลวย

     3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
         - ความบกพร่องของระดดับเสียง
         - เสียงดังหรือค่อยเกินไป
         - คุณภาพของเสียงไม่ดี

ความบกพร่องทางภาษา

     หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และไม่สมารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้

     1. พัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)
         - มีความมยากลำบากในการใช้ภาษา
         - มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
         - ไม่สามารถสร้างประโยคได้
         - มีความบกพร่องทางเชาวน์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดกติ
         - ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วนๆ

    2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
        - อ่านไม่ออก (alexia)
        - เขียนไม่ได้ (agraphia)
        - สะกดคำไม่ได้
        - ใช้ภาษาสับสน
        - จำคำหรือประโยคไม่ได้
        - ไม่เข้าใจคำสั่ง
        - พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้


ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
 ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
 ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
 ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
 หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดยังฟังเข้าใจยาก
 ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
 หลัง 5 ขวบ ยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
 มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
 ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย


เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
(Children with Physical and Health Impairments)


  • เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
  • เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
  • มีปัญหาทางระบบประสาท
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
โรคลมชัก (Epilepsy)



     สาเหตุ
     - เกิดจากความผิดปกติของระบบสมอง
     - มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกิน ปล่อยออกมาจากเซล์สมองพร้อมกัน
ยังไม่ทราาบสาเหตุที่แท้จริง


ประเภทของการชัก

การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานในกรณีเด็กมีอาการชัก

 จับเด็กนอนตะเคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
 ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
 หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆ รองศีระษะ
 ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
 จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
 ห้ามนำวัตถุใดๆ ใส่ในปาก เช่น ช้อน หรือผ้า
 ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหาบใจ


ซี.พี. (Cerebral Palsy)


  • การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
  • การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า 
  • มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน
     1. กลุ่มแข็งเกร็ง (Spastic)
         - Spastic hemiplegia    อัมพาตครึ่งซีก
         - Spastic diplegia         อัมพาตครึ่งท่อนบน
         - Spastic paraplegia     อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
         - Spastic quadriplegia  อัมพาตทั้งตัว

    2. กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (Athetoid , Ataxia)
        - Athetoid  อาการขยุกขยิกช้าๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆ ที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้า บางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
        - Ataxia      มีความผิดปกติกในการทรงตัว กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

    3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)


กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)


  • เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อกลุ่มนั้นๆ เสื่อมสลายตัว
  • เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่ 
  • มีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความยำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)


      ระบบกล้ามเนื้อพิการตั้งแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
  • ระบบกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กะดูกหลังโกง กระดูกผุ
  • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ

โปลิโอ


  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็กแต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
  • ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม

แขนขาด้วยแต่กำเนิด (Limb Deficiency)



ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
 มีปัญหาเี่ยวกับการทรงตัว
 ท่าเดินคล้ายกรรไกร
 เดินขากะเผลก หรืออืดอาดเชื่องช้า
 ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
 มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นวดหลัง
 หน้าแดงง่าย มีสีเขียวขางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
 หกล้มง่าย
 หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น